ปราสาทหรรษา

ยินดีต้อนรับสู่วังหมีแพนด้า


ประกอบด้ว

คุนนมเปรี้ยว ช่วงๆ แห่ง ซางตง

คุนผุกินกับ หลินฮุ้ย แห่งซางตง

คุนด่อน หลินปิง หวังตงเฉิน แห่งชางตง

ประวัติโรงเรียนอำนาจเจริญ


alt   alt  alt      alt
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียน อำนาจเจริญ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2494 ตามหนังสือของจังหวัดที่ 5858/2494 เปิดทำการสอนระดับ ม. 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 40 คน เปิดทำการสอนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ปัจจุบันคือ โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ อำเภอเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ มีครูทำการสอนเพียง 1 คน คือ นายเปลี่ยน อุปริวงศ์ ปี พ.ศ. 2495 โรงเรียนอำนาจเจริญ ได้ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยาไปทำการสอนที่วัดสำราญนิเวศ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ และในปี พ.ศ. 2497ได้ย้ายกลับไปทำการสอนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยาตามเดิม ปี พ.ศ. 2500 ได้ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยาไปเปิดทำการสอนที่โรงเรียนอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอำนาจเจริญในปัจจุบัน โรงเรียนอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 67 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา ตั้งอยู่ เลขที่ 26 ถนนชยางกูร หมู่ที่ 13 ต.บุ่ง อ.เมือง จ. อำนาจเจริญ 37000
คำขวัญ
มีคุณธรรม นำวิชา พัฒนาสังคม
คติพจน์
ความสำนึกในหน้าที่มีความรับผิดชอบเป็นสมบัติของลูกอำนาจเจริญ
ปรัชญาโรงเรียน
สิกขา ชีวิต โชตนา หมายถึง การศึกษาทำให้ชีวิตรุ่งโรจน์
สีประจำโรงเรียน
สีฟ้า หมายถึง ความสูงส่ง ความมีเกียรติ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความรุ่งโรจน์
ข้อมูลทั่วไป
ฝ่ายบริหาร
นายจักรทิพย์ กีฬา ผู้อำนวยการสถานศึกษา
นายถาวร สีทน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการ
นายสมชัย พลรักษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
นายอรรณพ จันทโสม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและนโยบาย
นายทวี ชัยปัญญา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการศึกษา
ข้อมูลบุคลากร (10 มิ.ย.52)
บุคลากร
ชาย
หญิง
รวม
1. ครู-อาจารย์
55
82
137
2. พนักงานราชการ
-
2
2
2. อาจารย์พิเศษ
2
3
5
4. นักการภารโรง ยาม
14
-
14
รวมบุคลกร
71
87
158
1. นักเรียน
1,683
2,321
4,004
รวมนักเรียน
1,683
2,321
4,004
ข้อมูลอาคารสถานที่
อาคารเรียน 6 หลัง
อาคารประกอบ 4 หลัง
ห้องน้ำนักเรียน 9 หลัง
บ้านพักครู 19 หลัง
ความภูมิใจที่ได้รับ
ผลงานดีเด่นนักเรียน
  1. สมาชิกยุวกาชาด ได้รับคัดเลือกเป็นยุวกาชาดดีเด่นระดับประเทศรับโล่พระราชทาน ติดต่อกัน 6 ปี
    - ปีการศึกษา 2538 เด็กหญิงมิถิลา หวังผล
    - ปีการศึกษา 2539 เด็กหญิงศิริพร ศิริอำนาจ
    - ปีการศึกษา 2540 เด็กหญิงอภิรดี พรมทา
    - ปีการศึกษา 2541 เด็กหญิงอนุตร สมุทรเวช
    - ปีการศึกษา 2542 เด็กหญิงปาริกา อุนาภาค
    - ปีการศึกษา 2543 เด็กหญิงจิตรลดา แก้วมีศรี
  2. เด็กหญิงอภิรดี พรมทา ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นรับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2541
  3. รางวัล ชนะเลิศรายการตอบปัญหาเยาวชนอยากรู้ของยุวพุทธิกสมาคมอุบลราชธานี ปี 2543 ระดับ ม.ปลาย ได้แก่ นายสราวุธ ประเสริฐศรี และนายกนกศักดิ์ รักษาสัตย์
  4. นายวีระชน ทองดี ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นด้านบำเพ็ญประโยชน์ ปี 2543 ของ สยช.
  5. นายสราวุธ ประเสริฐศรี เยาวชนตัวอย่างจังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2543
  6. เด็กหญิงจิตรลดา แก้วมีศรี ได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนดีเด่น ม.ต้น ระดับจังหวัดเพื่อรับรางวัลพระราชทานปี 2543
  7. เด็กหญิงอนุตร สมุทรเวช ศรี ได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนดีเด่น ม.ปลาย ระดับจังหวัดเพื่อรับรางวัลพระราชทานปี 2543
  8. นาง สาวประภาพรรณ คืนดี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันทักษะทางชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ไทย ปี 2543
  9. รางวัลชนะเลิศการแข่งขันทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับเขตการศึกษา 10 ไปแข่งขันระดับประเทศ 21 สิงหาคม 2544 ณ สสวท.
  10. รางวัลยอดเยี่ยมการแข่งขันดนตรีสากลงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 52 และ 53
  11. รางวัลชนะเลิศการสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ เขตการศึกษา 10 ปีการศึกษา 2543
  12. รางวัล ชนะเลิศ TROSS UNITY AWARD III วงสตริงชิงแชมป์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนักร้องยอดเยี่ยม ปีการศึกษา 2543 จังหวัดขอนแก่น รับโล่พระราชทาน ทุนการศึกษา 5,000 บาท
  13. รางวัลชนะเลิศ ล้ำฟ้า อวอร์ด ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2544 จังหวัดอุบลราชธานี
ผลงานดีเด่นของครู-อาจารย์
  1. ครู-อาจารย์ได้รับการพัฒนาได้เลื่อนตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 8 ดังนี้
    - นางนิ่มนวล   เต็งสุวรรณ   วิชาฟิสิกส์
    - นายสุดใจ   มุทุกันต์   วิชาฟิสิกส์
    - นางจารุศรี   แสวงนาม  วิชากิจกรรมยุวกาชาด
    - นางพยอม   วันสุดล   วิชาชีววิทยา
    - นางสาวสำเร็จ   อาจธะขันธ์   วิชาภาษาไทย
    - นางฉวีวรรณ   บุญรอด   วิชาสังคมศึกษา
  2. ครูผู้สอนยุวกาชาดดีเด่นระดับประเทศรับรางวัลโล่พระราชทานจากพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ดังนี้
    - นางจารุศรี แสวงนาม ปีการศึกษา 2541
    - นางสาวสำเร็จ อาจธะขันธ์ ปีการศึกษา 2543
  3. อาจารย์ได้รับคัดเลือกเป็นครูผู้มีผลงาน ด้านการสอนจริยศึกษาดีเด่น รับโล่จากกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
    - นายสุวรรณ จันทพันธ์ ปี 2537
    - นางรัชนี ระวังดี ปี 2541
    - นางฉวีวรรณ บุญรอด ปี 2542
    - นางเพ็ญศรี ผาริวงศ์ ปี 2543
  4. ครู-อาจารย์ได้รับคัดเลือกเป็นครูภาษาไทยดีเด่นระดับประเทศรับโล่จากคุรุสภา
    - นางสาวสำเร็จ อาจธะขันธ์ ปี 2541
    - นางสมจิตร แก้วมีศรี ปี 2543
    - นางถนอมจิต หวังผล ปี 2544
  5. ครูผู้มีจรรยามารยาทดีเด่นรับเข็มคุรุสภาสดุดีเชิดชูเกียรติในวันครูโลกดังนี้
    - นายสมพงษ์ โลมะรัตน์ ปี 2539
    - นางรัชนี ระวังดี ปี 2540
    - นางฉวีวรรณ บุญรอด ปี 2542
  6. ครู-อาจารย์ได้รับคัดเลือกเป็นครูแกนนำวิชาต่าง ๆ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 23 คน
ผลงานดีเด่นของโรงเรียน
    • ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น กรมสามัญศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ปีการศึกษา 2544
    • โรงเรียนจัดกิจกรรมจริยศึกษาดีเด่น รับโล่จากกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2537 และ 2539
    • โรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาปีการศึกษา 2544 เป็นผู้แทนเขตการศึกษา10 นำผลงานไปแสดงที่ จ.ชลบุรี


ประวัติโรงเรียนอำนาจเจริญ (ตั้งแต่เริ่มต้น)

•  โรงเรียนอำนาจเจริญอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งและทำการสอนเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2494 ตามหนังสือจังหวัดที่ 5858/2494 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2494 ในสมัยนายสมัย วัฒนสุข ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการจังหวัดอำนาจเจริญ การจัดการศึกษาได้พัฒนาเป็นลำดับดังนี้ 
•  พ.ศ. 2494 จัดตั้งและเปิดสอนในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2494 โดยใช้โรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา เปิดทำการสอน ชั้น ม.1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 40 คน ครู 3 คน
•  พ.ศ. 2495 ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ไปเรียนที่ศาลาวัดสำราญนิเวศน์ เนื่องจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา รื้ออาคารเพื่อปลูกสร้างอาคารใหม่ เปิดทำการสอนระดับ ม.1 ม.2 รวม 2 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 77 คน ครู 5 คน นายเพียร จันทาป รักษาการแทนครูใหญ่
•  พ.ศ. 2496 เปิดทำการสอน ชั้น ม.1 ม.2 และ ม.3 นักเรียน 120 คน ครู 6 คน
•  พ.ศ. 2497 ย้ายจากวัดสำราญนิเวศน์ ไปเรียนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 นายสุจริต จันทกาญจน์ รักษาแทนครูใหญ่
•  พ.ศ. 2499 เปิดทำการสอน 4 ห้องเรียน คือ ม.1 – ม.4 จำนวนนักเรียน 179 คน ครู 9 คน นายสุจริต จันทกาญจน์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่ คนแรก ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น 1 หลัง 8 ห้องเรียน จำนวน 229,000 บาท บ้านพักครู 2 หลัง สร้างที่สนามม้าซึ่งเป็นที่ปัจจุบัน
•  พ.ศ. 2500 ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา มาเรียนที่อาคารใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2500 ครู 9 คน ได้รับงบประมาณ 1,400 บาท สร้างส้วม 2 หลัง
•  พ.ศ. 2501 เปิดทำการสอน ม.1 – ม.6 จำนวน 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 272 คน ครู 13 คน
•  พ.ศ. 2504 เปิดสอน 6 ห้องเรียน ครู 15 คน ได้รับงบประมาณ 15,000 สร้างโรงอาหาร 1 หลัง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
•  พ.ศ. 2506 เปิดทำการสอน ม.ศ.1 –ม.ศ 3 จำนวน 6 ห้องเรียน ครู 15 คน ภารโรง 2 คน
•  พ.ศ. 2507 ผู้ปกครองบริจาคสร้างรั้ว 10,000 บาท
•  พ.ศ. 2508 เปิดทำการสอน ม.ศ.1- ม.ศ.3 8 ห้องเรียน ได้รับงบประมาณ 90,000 บาท สร้างโรงฝึกงาน1 หลัง และใช้เงิน บกศ. สร้างลวดหนาม 3,600 บาท
•  พ.ศ. 2509 ศิษย์เก่าบริจาคสร้างเสาธง 1,500 บาท
•  พ.ศ. 2510 เปิดสอน 9 ห้องเรียน ม.ศ.1 – ม.ศ.3 นักเรียน 314 คน ครู 14 คน ภารโรง 3 คน ได้รับงบประมาณ 50,000 สร้างบ้านพักครู 1 หลัง
•  พ.ศ. 2512 ศิษย์เก่าบริจาค 2,000 บาท สร้างรั้วประตู ได้รับงบประมาณ 240,000 บาท สร้างอาคารไม้ สร้างหอประชุม 200,000 บาท
•  พ.ศ. 2513 เปิดสอน ม.ศ.1 – ม.ศ.3 12 ห้องเรียน ครู 22 คน ได้รับงบประมาณ 30,000 บาท สร้างส้วม 3 หลัง และงบประมาณ 70,000 บาท สร้างอาคารคหกรรม
•  พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณ 100,000 บาท สร้างบ้านพักครู 2 หลัง และได้รับงบประมาณ 486,000 บาท
•  พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณ 100,000 บาท สร้างบ้านพักครู 2 หลัง งบประมาณ 42,000 บาท สร้างบ้านพักภารโรง 1 หลัง 42,500 สร้างส้วม 1 หลัง
•  พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216 จำนวน 6 ห้องเรียน 480,000 บาท
•  พ.ศ. 2518 ได้รับอนุญาต ให้เปิดทำการสอนระดับ ม.ปลาย จำนวน 2 ห้องเรียน 70,000 บาท สร้างส้วม 2 หลัง ด้วยเงินงบประมาณ 60,000 สร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง โดยผู้ปกครองนักเรียนให้การช่วยเหลือ เปิดสอนม.ศ.4 หลักสูตร 2518
•  พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณ สร้างบ้านพักครู 1 หลัง ราคา 80,000 บาท บ้าพักภารโรง 1 หลัง ราคา 40,000 บาท และสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. 1 หลัง ราคา 1,040,000 บาท
•  พ.ศ. 2521 เปิดสอนชั้น ม.ศ.1 – ม.ศ.5 จำนวน 46 ห้องเรียน นักเรียน 1,836 คน ครู 98 คน นายสุจริต จันทกาญจน์ ย้ายไปรักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล นายณรงค์ ไชยกาล ย้ายจากโรงเรียนกันทรารมย์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ ได้รับงบประมาณ 300,000 บาทสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 10 ห้องเรียน และต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216 ก. จำนวน 8 ห้องเรียน
•  พ.ศ. 2522 การจัดห้องเรียน 8-8-1-1-9-0 ชั้น ม.1 – ม4 สอนตามหลักสูตร พ.ศ.2521 ม.ศ.4 –ม.ศ.5 สอนตามหลักสูตร 2518 มีห้องเรียน 8ห้องเรียน นักเรียน 2,247 คน ครู 114 คน นายเกษม คำทวี ย้ายจากโรงเรียนกันทรารมย์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนเดชอุดม เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2524 วันที่ 1 ตุลาคม 2524 นายเกษม คำทวี ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่โรงเรียนเบญจะมะหาราช จังหวัดได้แต่งตั้งให้นายเปลี่ยน อุปริวงศ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการชั่วคราว จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2524 นายokนายสมพงษ์ โลมะรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมะมหาราชได้มารักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ เป็นการชั่วคราว
•  พ.ศ.2526 เปิดสอนระดับ ม.1 – ม.6 การจัดชั้นเรียน 8-8-8/12-10-9 จำนวนนักเรียน 2552 คน ครู 124 คน ภารโรง 12 คน นายมนู ส่งเสริม ได้ย้ายมารักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้รับงบประมาณ 130,000 บาท จัดซื้อวัสดุ วิชาอุตสาหกรรม และ 40,0 บาท จัดซื้อวัสดุ วิชาศิลป์
•  พ.ศ. 2527 เปิดสอนระดับ ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-10 ครู 140 คน นักการภารโรง 12 คน ยาม 1 คน
•  พ.ศ. 2528 เปิดสอนตั้งแต่ ม.1 – ม. 6 จัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 นักเรียน 2,818 คน ครู 132 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุมเอนกประสงค์จำนวน 2,000,000 บาท
•  พ.ศ. 2529 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 นักเรียน 2,678 คน ครู 133 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอุตสาหกรรม เป็นเงิน 1,560,000 บาท
•  พ.ศ. 2530 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-11-12 ครู 134 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง และสร้าง 1 หลัง งบประมาณ 300,000 บาท
•  พ.ศ. 2532 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 ครู 137 คนนักเรียน 2,331คน วันที่ 31 ตุลาคม 2532 นายเจริญ ช่วงชิง ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง โรงเรียนอำนาจเจริญ นายมนู ส่งเสริม ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเดชอุดม ในวันที่ 31 ตุลาคม 2532
•  ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนอำนาจเจริญ ได้รับการกำหนดให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตรการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ร่วมกับ 550 โรงเรียนทั่วประเทศ
•  ปีงบประมาณ 2533 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา ให้เปิดรับนักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแผนการจัดชั้นเรียน10-8-8/10-8-12 รวม 56 ห้องเรียน นักเรียน 2,249 คน ครู –อาจารย์ 135 คน นักการภารโรง 14 คน ยาม 3 คน
•  ปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาที่ตำบลนาวัง มีนักเรียน ม.1 จำนวน 61 คน และได้อาศัยอาคารเก่าในโรงเรียนบ้านโคกช้างฮ้าย เป็นที่เรียนชั่วคราว
•  ปีการศึกษา 2535 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง คือ โรงเรียนอำนาจเจริญ สาขาตำบลนาจิก 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 62 คน และสาขาตำบลสร้างนกทา 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 46 คน
•  ปีการศึกษา 2536 โรงเรียนอำนาจเจริญมีนักเรียนทั้งสิ้น 2,509 คน นักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ สาขาตำบลนาวัง 192 คน สาขาตำบลนาจิก 142 คน และสาขาตำบลสร้างนกทา 126 คน
•  ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาตำบลบุ่ง เพื่อเตรียมจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดอำนาจเจริญแห่งที่ 2 รับนักเรียน ม.1 ได้ 2 ห้องเรียน โรงเรียนสาขาตำบลนาวังได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อโรงเรียนนาวังวิทยา
•  ปีการศึกษา 2538 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,509 คน (13-12-12/12-10-9) สาขาตำบลบุ่ง 217 คน (3-2-0) สาขาตำบลสร้างนกทา 187 คน (2-2-2) สาขาตำบลนาจิก ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อ โรงเรียนนาจิกพิทยาคม
•  ปีการศึกษา 2539 มีแผนชั้นเรียน 12-13-12/13-12-10 สาขาตำบลบุ่ง 3-3-2 สาขาตำบลสร้างนกทา 2-2-2 และได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องน้ำ ห้องส้วมนักเรียน จำนวน 1 หลัง
•  ปีการศึกษา 2540 มีแผนชั้นเรียน 14-12-13/14-13-12 สาขาตำบลบุ่ง 3-3-2 สาขาตำบลสร้างนกทา 3-2-2 ได้ย้ายนักเรียนสาขาตำบลบุ่งไปเรียนที่บ้านดอนหวายตาใกล้ โดยก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 2 หลัง
•  ปีการศึกษา 2541 มีแผนชั้นเรียน 14-14-12/14-14-13 สาขาตำบลบุ่ง และสาขาตำบลสร้างนกทา ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อ โรงเรียนอำนาจเจริญ 2 และโรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคม
•  ปีการศึกษา 2542-2547 โรงเรียนสามารถรับนักเรียนให้เป็นไปตามแผนการจัดชั้นเรียนที่กรมอนุมัติทุกประการ แผนจัดชั้นเรียนเต็มรูป คือ 12-12-12/14-14-14 รวม 78 ห้องเรียน
•  วันที่ 5 ธ.ค. 43 รับมอบพระพุทธรูปพร้อมฐานไว้ประจำโรงเรียน
•  12 มิถุนายน 2544 โรงเรียนได้ประกอบพิธีเปิดอาคาร 5 อาคาร 32ล/41 หลังคาทรงไทยมูลค่า 19 ล้านเศษ และรับมอบโรงอาหารตามโครงการ "ธนาคารน้ำใจ" จาก 5 องค์กรหลักมูลค่า 2 ล้านบาท
•  14 กุมภาพันธ์ 2545 โรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินแปลงที่ 2 จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา เพื่อสร้างสนามกีฬา และรับมอบสนามกีฬามูลค่า 1.4 ล้านบาท จากกรมพลศึกษา
•  12 เมษายน 2545 โรงเรียนได้รับมอบศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยได้รับวัสดุฉางข้าวจาก ร.พ.ช. และค่าก่อสร้างจากชุมชน มูลค่า 3 ล้านบาท
•  1 มกราคม 2546 พิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ โดยปรับปรุงจากโครงสร้างเดิมของโรงอาหาร
•  ปีการศึกษา 2546 มีแผนชั้นเรียนเป็น 12-11-11/14-14-14 รวม 76 ห้องเรียน
•  ปีการศึกษา 2547 ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นห้องสมุด ICT
•  ปีการศึกษา 2548 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บริษัท เกียรติสุรนนท์ จำกัด ในการก่อสร้างอาคาร ICT จำนวนเงิน 7 ล้านบาท และโรงเรียนได้ดำเนินการ ปรับปรุงอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องทำงาน ฝ่ายบริหาร ครู อาจารย์ ตามโครงการห้องเรียนน่าอยู่ มีแผนการจัดชั้นเรียน 12-11-11/14-14-14 รวม 76 ห้องเรียน ครูอาจารย์ 124 คน นักเรียน 3,224 คน ลูกจ้างประจำ 14 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน
•  ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนได้จัดชั้นเรียนเป็น 14-11-11/11-11-11 รวม 69 ห้องเรียน มีนักเรียน 3531 คน ครูอาจารย์ 126 คน นักการภารโรง 14 คน พนักงานและลูกจ้างชั่วคราว 7 คน